วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ข้อสอบ

1. พื้นที่ที่สัญญาณครอบคลุมการทำงานเรียกว่าอะไร

a. AP

b. BSS

c. ESS

d. DCF



เฉลย a. AP



2. ข้อใดไม่ถูกต้องในการกล่าวถึง Rang ของความถี่

a. 902 MHz – 928 MHz

b. 2.400 GHz – 2.8435 GHz

c. 5.725 GHz – 5.855 GHz

d. ข้อ ก. และ ข้อ ข.



เฉลย b. 2.400 GHz – 2.8435 GHz



จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถามจากข้อ 3 – 8 เขียนคำตอบลงในช่อง ก

.A. Industry

B. Science

C. Medical

D. 900 MHz

E. 2.400 GHz

F. IEEE802.11a

G. IEEE802.11b

H. 54 Mbits

I. 2 Mbits

J. 11 Mbits

K. DSSS

L. FHSS

M. ISM



3. Data Rate สูงสุดที่สามารถส่งข้อมูลได้ใน wireless Lan ที่ใช้ Machanism แบบ OFDM

ตอบK.DSSS



4. Radio Frequency ที่ใช้งานเยอะที่สุดใน IEEE802.11

ตอบ L. FHSS



5. IEEE802.11b ใช้ machanism แบบใด

ตอบ C. Medical



6. Machanism แบบใดที่มี Data Rate 11 Mbits

ตอบ A. Industry



7. ย่านความถี่ที่อนุญาตให้ใช้ได้ในงานอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และการแพทย์

ตอบ D. 900 MHz



8. Radio frequency 2.400 GHz มีกี่ channel

a. 54

b. 69

c. 79

d. 89



เฉลย c.79



9. ในการ hop แต่ละ hop ใช้การ synchronize ต่างกันเท่าไหร่

a. 0.4 ms per hop

b. 0.45 ms per hop

c. 0.2 ms per hop

d. 0.25 ms per hop



เฉลย b.0.45 ms per hop

10. สถาปัตยกรรมของ wireless lan ใน mode ใดที่ต้องเดินสาย wire network

a. ad-hoc

b. Peer to peer

c. Infrastructure

d. BSS



เฉลย d.BSS

11. Routing Protocol มีกี่แบบ อะไรบ้าง

a. 2 แบบ Link state & Distance Vector

b. 2 แบบ Link state & Dynamic

c. 2 แบบ Dynamic & Static

d. 2 แบบ DGP & OSPF



เฉลย b. 2 แบบ Link state & Dynamic



12. ข้อใดไม่ใช่ข้อพิจารณาลักษณะของ Routing ที่ดี

a. Cost ต่ำ

b. Space ต่ำ

c. Delay ต่ำ

d. Hop ต่ำ



เฉลย d. Hop ต่ำ



13. Protocol BGP พิจารณาการส่งข้อมูลจากอะไร

a. จำนวนลิงค์

b. ระยะทาง

c. จำนวน router

d. ราคาค่าเช่า



เฉลย b. ระยะทาง



14. ลักษณะสำคัญของ routing table ประกอบด้วยอะไรบ้าง

a. ต้นทาง

b. ปลายทาง

c. ต้นทาง ปลายทาง

d. ต้นทาง โปรโตคอล ปลายทาง



เฉลย c. ต้นทาง ปลายทาง



15. OSFP (Open Shortest Path First) เป็นชื่อของ

a. Algorithm

b. Protocol

c. Router

d. Routing Table



เฉลย b. Protocol



16. ชนิดของเส้นใยแก้วนำแสงที่ใช้รับ – ส่งข้อมูลในระยะทางไกล ๆ

a. Grade Index Multimode

b. Step Index Multimode

c. Single Mode

d. ถูกทุกข้อ



เฉลย a.Grade Index Multimode



17. แกนกลางที่เป็นใยแก้วนำแสงเรียกว่าอะไร

a. Jacket

b. Claddingc.

Core

d. Fiber



เฉลย c. Core





18. แสดงที่เดินทางภายใสเส้นใยนำแสงจะตกกระทบเป็นมุม คือลักษณะของเส้นใยแก้วแบบใด

a. Grade Index Multimode

b. Step Index Multimode

c. Single Mode

d. ถูกทุกข้อ



เฉลย a. Grade Index Multimode



19. แสดงที่เดินทางภายในเส้นใยแก้วนำแสงจะเป็นเส้นตรง คือลักษณะของเส้นใยแก้วแบบใด

a. Grade Index multimode

b. Step Index Multimode

c. Single Mode

d. ถูกทุกข้อ



เฉลย c. Single Mode



20. ต้นกำเนิดแสง (optical source) ที่มี Power ของแสงเข้มข้นคือ

a. Laser

b. APD

c. LED

d. PIN-FET



เฉลย d.PIN-FET



21. ข้อใดคือ Fast Ethernet

a. 10base5

b. 1000baseFX

c. 100BaseFL

d. 10GbaseTX



เฉลย b. 1000baseFX



22. 10BasF ใช้สายสัญญาณอะไรในการส่งข้อมูล

a. UTP

b. STP

c. Coaxial

d. Fiber Optic



เฉลย b. STP



23. ข้อใดไม่ใช่ Ethernet แบบ 1000 mbps

a. 1000BaseT

b. 100BaseTX

c. 1000BaseX

d. 1000BaseFL



เฉลย c.1000BaseX



24. ขนาด Frame ที่เล็กที่สุดของ Gigabit Ethernet คือ

a. 53 byte

b. 64 byte

c. 128 byte

d. 512 byte



เฉลย d. 512 byte



25. Ethernet ใช้ protocol ใดในการตรวจสอบการส่งข้อมูล

a. LLC

b. CSMA/CA

c. CSMA/CD

d. ALOHA



เฉลย b. CSMA/CA



26. Ethernet 10baseT ต่อยาวกี่เมตรสูงสุด
a. 80 ม.
b. 100 ม.
c. 150 ม.
d. 185 ม.

เฉลย b. 100 ม.

27. ใครเป็นผู้กำหนดมาตรฐานของ Ethernet
a. OSI
b. IEEE
c. ISO
d. CCITT

เฉลย b.IEEE

28. 10Base5 ใช้สาย Coaxial แบบใด
a. Thin
b. Thick
c. UTP
d. STP

เฉลย b.Thick

29. Fast Ethernet มีความเร็วเท่าใด
a. 10 mbps
b. 100 mbps
c. 1000 mbps
d. 10 Gbps

เฉลย b. 100 mbps

30. 100 Mbps, baseband, long wavelength over optical fiber cable คือ มาตรฐานของ
a. 1000Base-LX
b. 1000Base-FX
c. 1000Base-T2
d. 1000Base-T4

เฉลย d.1000Base-T



31. ATM มีขนาดกี่ไบต์
a. 48 ไบต์
b. 53 ไบต์
c. 64 ไบต์
d. 128 ไบต์

เฉลย b. 53 ไบต์
32. CSMA พัฒนามาจาก
a. CSMA/CA
b. CSMA/CD
c. CSMA
d. ALOHA

เฉลย b. CSMA/CD

33. Internet เกิดขึ้นที่ประเทศอะไร
a. AU
b. JP
c. USA
d. TH

เฉลย c.USA

34. เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการขนถ่ายข้อมูล หรือ Transport Technology
a. SEH
b. ATM
c. Mobile
d. DWDM

เฉลย d. DWDM

35. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเรียกว่าอะไร
a. CS internet
b. Operator
c. Admin
d. ISP

เฉลย c.Admin

36. การแจกจ่ายหมายเลขไอพีแอดเดรส ให้กับเครื่องลูกโดยอัตโนมัติเรียกว่าอะไร
a. DNS
b. FTP
c. DHCP
d. Proxxy

เฉลย b.FTP

37. การถ่ายโอนข้อมูลบนระบบอินเตอร์เน็ตเรียกว่าอะไร
a. DNS
b. FTP
c. DHCP
d. Proxxy

เฉลย c. DHCP

38. โปรโตคอลการสื่อการที่เป็น offline
a. ICMP
b. TCP
c. UDP
d. ARP

เฉลย d. ARP

39. การหาเส้นทางการส่งข้อมูลเรียกว่า
a. Routing
b. Routing Protocol
c. RoutingTable
d. Router

เฉลย b. Routing Protocol

40. ข้อใดไม่มีในขั้นตอนการทำ server 7 พ.ค. 48
a. DHCP
b. DNS
c Routing Protocol
d. Virtual host

เฉลย b. DNS

41. หมายเลข IP Class ใดรองรับการทำงานของ host ได้สูงสุด
a. A
b. B
c. C
d. D

เฉลย d. D

42. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างชนิดเข้าด้วยกันคือ
a. Hub
b. Switching
c. Modem
d. Router

เฉลย a. Hub

43. การ set ค่าความสำคัญสูงสุด (High priority) ของ packet เป็นหน้าที่ของ function ใดต่อไปนี้
a. PIFS
b. SIFS
c. DIFS
d. MIB

เฉลย d. MIB

44. การป้องกันการชนกันของการส่งข้อมูลใด WLAN ใช้หลักการใด
a. ALOHA
b. CSMA
c. CSMA/CA
d. CSMA/CD

เฉลย d. CSMA/CD

45. Data Rate สูงสุดขนาด 54 Mb ที่ส่งได้ใน WLAN ใช้มาตรฐานใดและใช้หลัก mechanism (กลไกการส่ง) แบบใด
a. IEEE802.11a ; DSSS
b. IEEE802.11b ; FHSS
c. IEEE802.11a ; OFDM
d. IEEE802.11b ; OFDM

เฉลย c. IEEE802.11a ; OFDM

46. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ D/A คือ
a. Hub
b. Switching
c. Modem
d. Router

เฉลย c. Modem

47.อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่บรอดแคสสัญญาณ (Broadcast) คือ
a. Hub
b. Switching
c. Modem
d. Router

เฉลย d. Router

48. Mechanism ใดของ WLAN ที่มีการรบกวน (Interference) สูงที่สุดใด
a. Diffuse IR
b. DSSS
c. OFDM
d. FHSS

เฉลย b. DSSS

49. CIDR 192.168.0.0/24 จะมีค่า subnet mask เท่าใด
a. 225.225.0.0
b. 225.225.128.0
c. 225.225.225.0
d. 225.225.225.192

เฉลย d. 225.225.225.192

50. การ Roaming ใช้กับการโอนถ่ายข้อมูลระหว่าง
a. AP กับ AP
b. BSSกับ AP
c. AP กับ BSS
d. BSS กับ BSS

เฉลย c. AP กับ BSS

วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551

เข้าเรียนใหม่

คำอะธิบายรายวิชา

.........ความรู้เบื้องต้นเบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เครือข่าย การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับเทอร์มินอล ชั้นของโปรโตคอลมาตรฐาน OSI รูปแบบต่าง ๆ ของเครือข่าย X.25 เนตเวิร์คและดิจิตอลเนตเวอร์ค การประมวลผลแบบตามลำดับและแบบขนาน การไปป์ไลน์ (Pipelining) การประมวลผลแบบเวคเตอร์ (Vector Processing) การประมวลผลแบบอะเรย์ (Array Processors) มัลติโปรเซสเชอร์ (Multiprocessor) และฟอลท์โทเลอร์แรนซ์ (Fault Tolerance)

url ของ e-learning

1..http://www.learn.in.th/(เลิร์นออนไลน์ )

2..http://www.ram.edu/elearning/index.php(ศูนย์สื่อการสอนทางอิเล็กทรอนิกส์มหาวิทยาลัยรามคำแหง)

3.http://webindex.sanook.com/clickstat.php?linkid=127365 (เลิร์นสแควร์ )

4.http://course.rru.ac.th/(อีเลิร์นนิ่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์)

5.http://webindex.sanook.com/clickstat.php?linkid=59623 (อีเลิร์นนิ่งไท

6.http://webindex.sanook.com/clickstat.php?linkid=100262 (อีเลิร์นนิ่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี)

7.http://webindex.sanook.com/clickstat.php?linkid=97843 (อีเลิร์นนิ่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม )

8.http://webindex.sanook.com/clickstat.php?linkid=98795 (อีเลิร์นนิ่ง ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ )

9.http://www.chulaonline.com/(จุฬาออนไลน์ )

10.http://e-learning.mfu.ac.th/mflu/(มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)

Topology
รูปแบบของการเชื่อมโยงเครือข่าย หรือโทโปโลยี (LAN Topology)
.....โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้












1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS)

.....เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้

ข้อดี
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก

ข้อเสีย
- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้



















2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)
....เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป


ข้อดี
- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน

ข้อเสีย
- ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
- ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง





















3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR)

....เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป

ข้อดี
- การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย

ข้อเสีย
- เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ



4.โทโปโลยีแบบ Hybrid

....เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน

5.โทโปโลยีแบบ MESH

...เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก




ประเภทของระบบเครือข่าย Lan ซึ่งแบ่งตามลักษณะการทำงาน

..ในการแบ่งรูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย Lan นั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่การเชื่อมต่อแบบ

Peer - To - Peer และแบบ Client / Server

1. แบบ Peer - to - Peer เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่อง จะสามารถแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกันภายในเครือข่ายได้ เครื่องแต่ละเครื่องจะทำงานในลักษณะทีทัดเทียมกัน ไม่มีเครื่องใดเครื่องเครื่องหนึ่งเป็นเครื่องหลักเหมือนแบบ Client / Server แต่ก็ยังคงคุณสมบัติพื้นฐานของระบบเครือข่ายไว้เหมือนเดิม การเชื่อต่อแบบนี้มักทำในระบบที่มีขนาดเล็กๆ เช่น หน่วยงานขนาดเล็กที่มีเครื่องใช้ไม่เกิน 10 เครื่อง การเชื่อมต่อแบบนี้มีจุดอ่อนในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัย แต่ถ้าเป็นเครือข่ายขนาดเล็ก และเป็นงานที่ไม่มีข้อมูลที่เป็นความลับมากนัก เครือข่ายแบบนี้ ก็เป็นรูปแบบที่น่าเลือกนำมาใช้ได้เป็นอย่างดี














2. แบบ client-server เป็นระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือน ๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบ เครือข่าย แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่าง ๆ ให้กับ เครื่อง Client หรือเครื่องที่ขอใช้บริการ ซึ่งอาจจะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างสูง ถึงจะทำให้การให้บริการมีประสิทธิภาพตามไปด้วย ข้อดีของระบบเครือข่าย Client - Server เป็นระบบที่มีการรักษาความปลอดภัยสูงกว่า ระบบแบบ Peer To Peer เพราะว่าการจัดการในด้านรักษาความปลอดภัยนั้น จะทำกันบนเครื่อง Server เพียงเครื่องเดียว ทำให้ดูแลรักษาง่าย และสะดวก มีการกำหนดสิทธิการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆให้กับเครื่องผู้ขอใช้บริการ หรือเครื่อง Client







ประเภทของระบบเครือข่ายมีอีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ก็คือ การเชื่อมต่อแลนแบบไร้สาย Wireless Lan แลนไร้สาย WLAN เป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้ได้อย่างกว้างขวาง เหมาะที่จะใช้ได้ทั้งเครื่องพีซีตั้งโต๊ะธรรมดา และเครื่อง NoteBook ซึ่งการส่งสัญญาณติดต่อกันนั้น จะใช้สัญญาณวิทยุเป็นพาหะ ดังนั้นความเร็วในการส่งข้อมูลก็จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับระยะทาง ระยะทางยิ่งไกล ความเร็วในการส่งข้อมูลก็ทำให้ช้าลงไปด้วย แลนไร้สายเหมาะที่จะนำมาใช้กับงานที่ต้องการความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน อย่างเช่นพวก เครื่อง NoteBook เพียงแต่มีอินเตอร็เฟสแลนแบบไร้สาย ก็สามารถเคลื่อนที่ไปที่ใดก็ได้ภายในของเขตของระยะทางที่กำหนด อย่างเช่นภายในตึกได้ทั่วตึกเลยที่เดียว จุดเด่น ๆ ของ Wireless Lan มีดังนี้
- การเคลื่อนที่ทำได้สะดวก สามารถใช้ระบบแลนจากที่ใดก็ได้ และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบ Real Time ได้อีกด้วย
- การติดตั้งใช้งานง่าย และรวดเร็ว ไม่ต้องเดินสายสัญญาณให้ยุ่งยาก
- การติดตั้งและการขยายระบบ ทำได้อย่างกว้างขวาง เพราะสามารถขยายไปติดตั้งใช้งาน ในพื้นที่ ที่สายสัญญาณเข้าไม่ถึง
- เสียค่าใช้จ่ายลดน้อยลง เพราะว่าในปัจจุบันการส่งสัญญาณของ Wireless Lan ทำได้ไกลมากยิ่งขึ้น สามารถส่งได้ไกลกว่า 10 กม. ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการเช้าสายสัญญาณลงไปได้เป็นอย่างมาก
- มีความยืดหยุ่นในการใช้งานและการติดตั้ง สามารถปรับแต่งระบบให้ใช้ได้กับทุก Topology เลยทีเดียว การปรับแต่งทำได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งเครือข่าย การติดตั้ง Application ต่าง ทำได้โดยง่าย
มาตราฐานของ Wireless Lan นั้นตามมาตรฐานสากล 802.11 มีอัตราการส่งสัญญาณข้อมูลได้สูงสุด 11 เมกะบิตต่อวินาที ระยะทางการรับส่งสัญญาณขึ้นอยู่กับผู้ผลิตว่าออกแบบมาอย่างไร ถ้าเป็นการใช้ภายในอาคารสถานที่ ก็จะใช้สายอากาศแบบทุกทิศทาง จะได้ระยะทางประมาณ 50 เมตร แต่ถ้าเป็นการใช้กันแบบจุดต่อจุดหรือนอกสถานที่ ก็จะมีการออกแบบให้ใช้สายอากาศแบบกำหนดทิศทาง ให้ได้ระยะทางมากกว่า 10 กม.ได้